My Blog

การแสดงผล     

เมื่อต้องการซื้อบ้านและขอยื่นกู้สินเชื่อบ้านกับธนาคาร หนึ่งในเอกสารสำคัญที่ธนาคารจะขอก็คือ “เอกสารทางการเงิน” เพื่อยืนยันรายได้และแหล่งที่มาของรายได้ ซึ่งเอกสารที่ใช้ยืนยันได้อย่างน่าเชื่อถือที่สุด คือ สลิปเงินเดือน ที่ช่วยยืนยันกับธนาคารว่า ผู้ยื่นกู้จะมีรายได้จำนวนที่แน่นอนและเพียงพอต่อการชำระคืน

แต่ไม่ใช่คนที่ประกอบอาชีพทุกอาชีพจะมีสลิปเงินเดือน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานอิสระหรือฟรีแลนซ์ เจ้าของกิจการ พ่อค้าแม่ค้า ฯลฯ ต่างก็ไม่ได้มีรายได้ประจำที่การันตีว่า แต่ละเดือนจะมีรายได้เท่าเดิมหรือไม่ แล้วเมื่อเป็นกรณีแบบนี้ คนที่ไม่ใช่พนักงานประจำ ไม่มีสลิปเงินเดือนจะยังสามารถกู้สินเชื่อบ้านได้หรือไม่? บทความนี้ จะช่วยให้คำตอบกับคุณ

ไม่ได้ทำงานประจำ ไม่มีสลิปเงินเดือน กู้บ้านได้หรือไม่?

ไม่ได้ทำงานประจำ ไม่มีสลิปเงินเดือน กู้บ้านได้หรือไม่?

คำตอบคือ ได้! แต่ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจโจทย์และข้อกังวลของธนาคารกันก่อน 

ในความเป็นจริงแล้ว โจทย์ของธนาคาร ไม่ได้ต้องการสลิปเงินเดือน แต่ธนาคารต้องการหลักฐานในการยืนยันว่า ผู้ยื่นกู้มีความสามารถ/ศักยภาพในการชำระหนี้คืน โดยไม่ก่อให้เกิดหนี้เสียในระบบ 

ธนาคารจึงต้องขอเอกสารทางการเงินเพื่อยืนยันรายได้ และแหล่งที่มาของรายได้ของผู้ยื่นกู้เพื่อใช้พิจารณาว่า สามารถให้สินเชื่อได้หรือไม่ รวมไปถึงเพื่อประเมินวงเงินที่สมเหตุสมผลกับรายได้ของผู้ยื่นกู้ โดยที่มีความเสี่ยงที่จะไม่ชำระคืนหรือชำระคืนไม่ไหวน้อยที่สุด 

ดังนั้น โจทย์ของธนาคาร คือ ต้องการสิ่งที่สามารถยืนยันรายได้ของผู้ยื่นกู้ได้ ไม่ได้เจาะจงว่าต้องเป็นสลิปเงินเดือนเสมอไปเท่านั้น เพียงแต่ว่า สลิปเงินเดือนเป็นสิ่งที่พนักงานประจำหรือคนที่มีเงินเดือนเข้าอย่างสม่ำเสมอ เป็นเอกสารทางการเงินที่ช่วยยืนยันรายได้ได้อย่างชัดเจน 

กรณีคนที่ไม่ได้ทำงานประจำ ก็สามารถยื่นขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารได้ เพียงแต่เรื่องของการเตรียมตัวและเอกสารการเงินที่ต้องใช้ยืนยันกับธนาคาร จะมีความแตกต่างและซับซ้อนมากกว่าคนที่มีสลิปเงินเดือนอยู่บ้าง 

คนที่ไม่มีสลิปเงินเดือน จะยื่นกู้สินเชื่อบ้าน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

สำหรับคนที่ไม่มีสลิปเงินเดือน เกณฑ์การยื่นเอกสารต่างๆ สำหรับขอสินเชื่อบ้าน โดยส่วนใหญ่ไม่ได้แตกต่างจากคนที่มีสลิปเงินเดือน โดยเอกสารที่ธนาคารจะขอ แบ่งได้เป็น 3 หมวดหลักด้วยกัน ได้แก่ 1) เอกสารส่วนบุคคล 2) เอกสารทางการเงิน และ 3) เอกสารหลักประกัน

ส่วนที่แตกต่างในการเตรียมเอกสารของคนที่ไม่มีสลิปเงินเดือน คือ เอกสารทางการเงิน ที่ต้องใช้หลักฐานทางการเงินมากกว่า คนที่ทำงานมีเงินเดือนประจำที่ยื่นแค่สลิปเงินเดือนและใบรับรองเงินเดือนจากบริษัทเท่านั้น ก็สามารถยื่นขอสินเชื่อได้

เอกสารที่ต้องเตรียมยื่นขอสินเชื่อสำหรับคนไม่มีสลิปเงินเดือน มีดังนี้

เอกสารส่วนบุคคล บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / บัตรรัฐวิสาหกิจสำเนาทะเบียนสมรส / ใบหย่า / ใบมรณะบัตร (คู่สมรส) (ถ้ามี)สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี)เอกสารทางการเงิน (กรณีผู้ประกอบอาชีพอิสระ/เจ้าของกิจการ)สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน/หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมเอกสารฉบับจริง)สำเนาทะเบียนการค้า / ทะเบียนบริษัท / ห้างหุ้นส่วนหลักฐานการเสียภาษีเงินได้รูปถ่ายกิจการสำเนาใบประกอบวิชาชีพ

เอกสารการเงินเหล่านี้ ควรรวบรวมให้ได้มากที่สุดเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ธนาคาร ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ การเดินบัญชีเงินฝากให้มีเงินเข้าอยู่ตลอดเป็นเวลา 12 เดือน และหลักฐานการเสียภาษีเงินได้ จะเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะช่วยยืนยันรายได้ขั้นต่ำในทั้งปีของผู้ยื่นกู้ให้กับธนาคารได้

เอกสารหลักประกันสำเนาจะซื้อจะขาย / สัญญาวางมัดจำหลักฐานการเป็นเจ้าของอาคารสำเนาโฉนดที่ดิน / นส.3ก / หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด / อช.2 ทุกหน้าใบอนุญาตปลูกสร้าง / ต่อเติมแบบแปลนใบประมาณการปลูกสร้าง / สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง

หมายเหตุ ธนาคารอาจขอเอกสารเพิ่มเติมจากผู้ขอกู้ตามแต่กรณี เพื่อใช้ประกอบพิจารณาการให้สินเชื่อ

เทคนิคเตรียมตัวยื่นกู้บ้าน สำหรับคนไม่มีสลิปเงินเดือน 

เทคนิคเตรียมตัวยื่นกู้บ้าน สำหรับคนไม่มีสลิปเงินเดือน 

สำหรับคนที่ไม่มีสลิปเงินเดือน ควรเตรียมตัวสำหรับการยื่นกู้สินเชื่ออย่างน้อย 1 ปี เพื่อสร้างพอร์ตการเงินที่น่าเชื่อถือเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะยื่นขอสินเชื่อบ้านได้ผ่านฉลุย สิ่งที่ควรเตรียมตัว มีดังนี้

1. เดินบัญชีธนาคารให้สวย 

เดินบัญชีธนาคารโดยให้มีเงินเข้าในทุกๆ เดือนจำนวนที่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้ธนาคารเห็นความสม่ำเสมอของรายได้ และมีการใช้จ่ายที่คาดเดาได้ หมายถึง ในแต่ละเดือนมีเงินออกจำนวนใกล้เคียงกัน แสดงถึงการวางแผนการใช้เงินอย่างรอบคอบ นอกจากนี้ ไม่ควรใช้เงินให้หมดบัญชี ควรมีเหลือติดไว้บ้าง จะช่วยเพิ่มคะแนนในเชิงบวกเมื่อธนาคารพิจารณาให้สินเชื่อ

2. ยื่นภาษีเงินได้และเก็บเอกสาร ทวิ 50 

หลักฐานการยื่นภาษี เป็นอีกหลักฐานทางการเงินที่ธนาคารจะเรียกขอจากผู้ยื่นกู้ที่ไม่มีสลิปเงินเดือน เพราะหลักฐานการยื่นภาษีเงินได้ ถือเป็นหลักฐานที่ยืนยันรายได้ขั้นต่ำของผู้ยื่นกู้ รวมถึง แนะนำให้เก็บใบทวิ 50 หรือ หนังสือรองรับการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีที่เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ โดยสามารถขอได้จากผู้ว่าจ้างงาน

3. ถ่ายรูปกิจการ (ร้านค้า บริษัท แผงลอย)

ถ่ายรูปกิจการสำหรับยืนยันแหล่งที่มาของรายได้ กรณีที่เป็นเจ้าของกิจการหรือธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า แผงลอย พื้นที่ให้เช่า หอพัก บริษัท ฯลฯ ให้ถ่ายรูปทั้งตัวอาคาร บรรยากาศการทำงาน และบรรยากาศของร้านในขณะที่มีลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ เพื่อยืนยันกับธนาคารว่า ผู้ยื่นกู้ได้ประกอบธุรกิจจริง จะช่วยให้การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อง่ายขึ้น

4. ดูแลประวัติการผ่อนชำระสินเชื่ออื่นๆ

สะสางหนี้สินก้อนอื่นๆ ปิดบัตรเครดิต และตรวจสอบเครดิตบูโร (Credit Bureau) หรือประวัติการค้างชำระ รวมไปถึงตรวจสอบ “หนี้งอก” ที่ผู้ยื่นกู้อาจจะไม่ได้ก่อขึ้นเอง พยายามสะสางหนี้ให้เหลือน้อยที่สุดและชำระหนี้สินให้ตรงเวลา ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนรถ ผ่อนบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ฯลฯ 

ทั้งนี้ การมีบัตรเครดิตหรือหนี้สินก้อนอื่นๆ ไม่ได้ส่งผลไม่ดีต่อการขอกู้สินเชื่อบ้าน หากผ่อนชำระสินเชื่ออื่นๆ ตรงกับงวด จะช่วยเพิ่มคะแนนความน่าเชื่อถือ สะท้อนถึงวินัยในการจัดการหนี้ของผู้ยื่นกู้ได้

5. เก็บออมเงินและลงทุน

หากเป็นไปได้แนะนำให้เก็บออมเงินอย่างสม่ำเสมอเพื่อแสดงถึงวินัยทางการเงิน ซึ่งประโยชน์ของการออมเงิน นอกจากจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในสายตาของธนาคารได้ ก็ยังเป็นเงินสำรองสำหรับการซื้อบ้าน/สร้างบ้านได้ และยังสามารถใช้เพื่อเป็นเงินดาวน์บ้าน (ตั้งแต่ 10% – 20% ของราคาประเมิน) เป็นเงินโปะสินเชื่อในอนาคต หรือสำหรับคนที่ไม่มีเงินประจำ หากมีเหตุให้รายได้สะดุด เงินออมสามารถใช้เป็นเงินสำรองผ่อนชำระได้

นอกจากนี้ ถ้าผู้เตรียมตัวยื่นกู้มีพอร์ตการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหุ้น ธนบัตร สลากออมทรัพย์ ฯลฯ ก็สามารถยื่นเป็นเอกสารทางการเงินประกอบ เพื่อเพิ่มคะแนนในเชิงบวกในการอนุมัติสินเชื่อบ้านของธนาคารได้ 

ขั้นตอนการกู้สินเชื่อบ้านสำหรับคนไม่มีสลิปเงินเดือน

ขั้นตอนการกู้สินเชื่อบ้านสำหรับคนไม่มีสลิปเงินเดือน

ขั้นตอนการยื่นขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารสำหรับคนไม่มีสลิปเงินเดือนไม่ได้แตกต่างจากการยื่นขอสินเชื่อโดยทั่วไป สิ่งที่แตกต่างมีเพียงการพิจารณาให้สินเชื่อที่ธนาคารต้องใช้หลักฐานการเงิน และการสัมภาษณ์มากกว่าคนที่มีสลิปเงินเดือนเล็กน้อย เพื่อยืนยันความสามารถในการผ่อนชำระหนี้

1. ยื่นคำขอสินเชื่อกับธนาคารหรือโครงการ

หลังจากที่ได้บ้านที่ต้องการแล้ว ผู้ยื่นกู้สามารถเตรียมเอกสารแล้วเข้าติดต่อขอกู้สินเชื่อบ้านกับธนาคารได้โดยตรง [อ่านเกณฑ์ในการเลือกธนาคารกู้บ้านเพิ่มเติม << ในบทความนี้] หรือยื่นผ่านโครงการบ้าน/คอนโด เพราะในกรณีที่เป็นโครงการ เซลส์หรือนายหน้าสามารถช่วยเตรียมเอกสารให้รัดกุมและยื่นให้ได้

หากเอกสารไม่ครบหรือธนาคารต้องการเอกสารอะไรเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่จะสอบถามเพิ่มเติม

2. รอการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อบ้าน 

เมื่อยื่นขอสินเชื่อแล้วผู้ยื่นกู้ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ ธนาคารจะทำการพิจารณาหลักและจากการสัมภาษณ์ในตอนที่ยื่นกู้ จากนั้นพนักงานธนาคารจะส่งเรื่องต่อให้งานประเมินหลักทรัพย์ โดยเจ้าหน้าที่ประเมินหลักทรัพย์จะติดต่อผู้กู้เพื่อนัดหมายเข้าไปประมูลหลักทรัพย์ ตามวันและเวลาที่ผู้ยื่นกู้สะดวก หลังจากที่ยื่นใบคำขอแล้ว

เกณฑ์การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อบ้านโดยทั่วไปจะพิจารณาจาก 

วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ เช่น ซื้อที่ดินอาคาร, ซื้อห้องชุด, ไถ่ถอนจำนอง ฯลฯคุณสมบัติผู้ขอกู้ เช่น สถานภาพ, การศึกษา, อาชีพ ฯลฯความสามารถในการผ่อนชำระสินเชื่อประเภทและมูลค่าของหลักประกัน3. รอแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ 

กรณีธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จะติดต่อและแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้ผู้ยื่นกู้ทราบภายใน 7 วันทำการ นับจากวันที่ยื่นใบคำขอสินเชื่อ พร้อมเอกสารประกอบ (ครบถ้วน) เพื่อเตรียมนัดวันทำสัญญา 

4. ทำสัญญากู้เงิน และสัญญาจดจำนอง 

หากได้รับอนุมัติสินเชื่อ ธนาคารจะนัดหมายผู้กู้เพื่อทำสัญญากู้เงินที่สาขาของธนาคาร และนัดวันทำนิติกรรม ณ กรมที่ดิน ที่หลักประกันหรือโฉนดที่ดิน จดทะเบียนไว้

กรณีมีผู้กู้ร่วมหรือคู่สมรส ผู้ยื่นกู้ต้องนัดหมายให้บุคคลเหล่านั้นมาร่วมลงนามในสัญญาทุกฉบับ 

สำหรับค่าใช้จ่ายในวันทำสัญญา พนักงานธนาคารจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งในวันที่นัดหมาย 

ยื่นกู้สินเชื่อบ้านผ่านง่าย แม้ไม่มีสลิปเงินเดือนกับ ธอส.

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. คือ ธนาคารเพื่อการมีบ้านสำหรับคนไทยทุกคน ไม่ว่าคุณจะมีสลิปเงินเดือนหรือไม่ ก็สามารถยื่นกู้เพื่อซื้อบ้านในฝันได้ หวังว่าบทความนี้จะช่วยคลายข้อสงสัยและช่วยให้คุณเตรียมตัวยื่นกู้-เตรียมเอกสารได้อย่างครบถ้วน 

หากต้องการความช่วยเหลือหรือติดต่อขอสินเชื่อเพื่อบ้านกับ ธอส. สามารถกรอกข้อมูล เพื่อขอคำแนะนำด้านสินเชื่อ และให้เจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับ >>> ได้ที่นี่

เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ที่คอยให้คำแนะนำ พร้อมเปรียบเทียบและหยิบยื่นข้อเสนอด้านสินเชื่อที่ดีที่สุดให้กับคุณ ติดต่อเราได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขาใกล้บ้านคุณ

ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์  หรือ www.ghbank.co.th   

 

G H BANK Call Center: 02 645 9000



โพสต์โดย นัท สวย


3   72 ความคิดเห็น

ต้องมีเงินเท่าไหร่ จึงจะสามารถซื้อคอนโดได้? เป็นคำถามที่คนอยากซื้อคอนโดมือใหม่น่าจะกำลังสงสัย เพราะการเตรียมเงินก้อนใหญ่สำหรับซื้อคอนโด เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย 

แต่จริงๆ แล้วการเตรียมเงินเพื่อซื้อคอนโด ก็เป็นเพียงเงินก้อนส่วนหนึ่งสำหรับใช้จ่ายในช่วงดำเนินการในช่วงแรกเท่านั้น

สำหรับใครที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับเตรียมเงินก้อนเพื่อซื้อคอนโด เรามาดูกันว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ต้องเตรียม เพื่อให้คุณได้วางแผนทางการเงินเอาไว้ล่วงหน้า และสามารถซื้อคอนโดได้ด้วยเงินก้อนแรก พร้อมวิธีการขอสินเชื่อที่ให้วงเงินครอบคลุมในส่วนที่เหลือ

หลายคนที่กำลังจะเลือกยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารเพื่อซื้อคอนโด ก็น่าจะสงสัยกันว่า ถ้าหากขอสินเชื่อแล้ว ยังต้องเตรียมเงินสดเอาไว้ด้วยหรือไม่?

คำตอบคือ ต้องเตรียมเงินสดเอาไว้สำหรับการดำเนินการด้วย

โดยเงินสดที่ต้องเตรียม ไม่ได้หมายถึงเงินก้อนตามราคาของคอนโดที่จะซื้อ แต่เป็นเงินก้อนแรกที่ต้องนำไปเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ในช่วงที่เริ่มตัดสินใจซื้อคอนโด ไปจนถึงช่วงก่อนที่จะย้ายกระเป๋าเข้าอยู่

สำหรับการซื้อคอนโดจะมีค่าใช้จ่ายก้อนแรกที่ต้องเตรียม ดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายในช่วงทำสัญญา

เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมเอาไว้เมื่อคุณตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกซื้อคอนโดในยูนิตที่ต้องการ โดยเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระให้กับโครงการในส่วนแรก ได้แก่

ค่าจองยูนิตที่ต้องการ ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 1,000-10,000 บาท ค่าทำสัญญาจะซื้อจะขาย โดยหลังจากทำการจอง 1-2 สัปดาห์ ทางโครงการจะนัดเข้าทำสัญญา มีค่าใช้ประมาณ 5,000 – 100,000 บาท ขึ้นอยู่กับมูลค่าของโครงการค่าดาวน์คอนโด 10-35% ของราคาคอนโด ซึ่งสามารถผ่อนได้แบบไม่มีดอกเบี้ย (สำหรับคอนโดที่อยู่ในระหว่างก่อสร้าง)

จำเป็นหรือไม่ที่ต้องดาวน์คอนโด?

การวางเงินดาวน์คอนโด สามารถทำได้กับโครงการคอนโดที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง โดยการดาวน์ 10-35% ของราคาคอนโด มีข้อดีตรงที่คุณสามารถเลือกผ่อนดาวน์ไปแบบไม่มีดอกเบี้ยกับทางโครงการไปได้เรื่อยๆ จนกว่าคอนโดจะสร้างเสร็จ

และการวางเงินดาวน์จะช่วยให้คุณสามารถผ่อนชำระสินเชื่อกับทางธนาคารหมดได้ไวขึ้นด้วย เนื่องจากเงินดาวน์จะไปลดยอดกู้สินเชื่อลง ทำให้เงินต้นลดลง การคำนวณดอกเบี้ยก็ลดลง และระยะเวลาในการผ่อนคอนโดลดลงด้วย 

เช่น คอนโดราคา 2,900,000 บาท เลือกดาวน์ที่ 10% หรือ 290,000 บาท จะทำให้เงินต้นในการขอสินเชื่อธนาคารเหลืออยู่ที่ 2,610,000 บาท ซึ่งการผ่อนจ่ายรายเดือนก็จะลดลง และผ่อนคอนโดหมดได้เร็วขึ้น

2. ค่าใช้จ่ายในการขอสินเชื่อซื้อคอนโด

ในการยื่นขอสินเชื่อเพื่อซื้อคอนโดกับธนาคาร จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์มีอัตราการเก็บค่าธรรมเนียม ดังนี้

ค่าธรรมเนียมในการยื่นกู้ หากวางเงินกู้เกิน 5 แสนบาท คิดค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.1 ของวงเงินค่าประเมินหลักประกัน หากวงเงินกู้ไม่เกิน 5 แสนบาท ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท / วงเงินกู้ เกิน 5 แสน – 3 ล้านบาท ค่าธรรมเนียม 2,800 บาท / วงเงินกู้เกิน 3 ล้านบาท ค่าธรรมเนียม 3,100 บาทค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (คิดแบบเหมา) คิดค่าธรรมเนียม 1,000 บาท3. ค่าใช้จ่ายในช่วงโอนกรรมสิทธิ์

เมื่อดำเนินขั้นตอนการขอสินเชื่อเรียบร้อยแล้ว ก่อนที่จะย้ายเข้าอยู่ ต้องไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้คอนโดนั้นเป็นชื่อของผู้ซื้อให้เรียบร้อยก่อนที่กรมที่ดิน โดยจะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมไว้ ได้แก่

ค่าโอนกรรมสิทธิ์ 2% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขายค่าอากรแสตมป์ 0.05% ตามราคาซื้อขาย แต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน และไม่เกิน 10,000 บาทค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้ 

โดยในปี 2565 ได้มีมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ในอัตราพิเศษ ที่จะช่วยลดภาระรายจ่ายให้ผู้ที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง 

อ่านต่อได้กับ > อัปเดตค่าธรรมเนียมการโอน-จำนองบ้านปี 2565 [พร้อมวิธีคำนวณ]

4. ค่าใช้จ่ายก่อนเข้าอยู่คอนโด

โดยค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะจ่ายให้กับทางโครงการคอนโดที่คุณซื้อ มีทั้งค่าใช้จ่ายแบบครั้งเดียวและค่าใช้จ่ายล่วงหน้าแบบรายปี ได้แก่

ค่ากองทุนส่วนกลาง เป็นค่ากองทุนที่จ่ายให้กับทางโครงการคอนโด โดยจะจ่ายเพียงครั้งเดียว และคิดราคาต่อตารางเมตรของพื้นที่ห้องที่ซื้อ เช่น 400 บาทต่อตารางเมตร และห้องของคุณมีขนาด 35 ตารางเมตร จะมีค่ากองทุนอยู่ที่ 14,000 บาทค่าส่วนกลางล่วงหน้า สำหรับนำไปบริหารและซ่อมบำรุงทรัพย์สินส่วนกลางในคอนโด โดยจะคิดเป็นรายเดือน และคิดราคาต่อตารางเมตรของพื้นที่ห้องที่ซื้อ เช่น 40 บาทต่อตารางเมตร และห้องของคุณมีขนาด 35 ตารางเมตร จะมีค่าส่วนกลางรายเดือนอยู่ที่ 1,400 บาทต่อเดือน ซึ่งบางโครงการอาจเรียกเก็บเป็นรายปี หรือ 1,400 x 12 = 16,800 ต่อปีค่าติดตั้งและค่าประกันมิเตอร์น้ำ-ไฟฟ้า เป็นค่าใช้จ่ายแบบครั้งเดียว ที่ประมาณ 2,000-4,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของมิเตอร์และเงื่อนไขของโครงการ

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมในการซื้อคอนโด

ตัวอย่างการคิดค่าใช้จ่ายก้อนแรกที่ต้องเตรียมในการซื้อคอนโด ราคา 2 ล้านบาท ขนาด 35 ตารางเมตร ผ่อนดาวน์ 10% (2 แสนบาท) และยื่นขอสินเชื่อซื้อคอนโดกับธนาคาร 1,800,000 บาท

ค่าจอง + ค่าทำสัญญา 10,000 บาทค่าธรรมเนียมในการยื่นกู้ 1,800 บาทค่าประเมินหลักประกัน 2,800 บาทค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม 1,000 บาทค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ 36,000 บาทค่าจดจำนอง 18,000 บาทค่าอากรแสตมป์ 900 บาทค่ากองทุนส่วนกลาง 14,000 บาทค่าส่วนกลางล่วงหน้า (1 ปี) 16,800 บาทค่าติดตั้งและค่าประกันมิเตอร์น้ำ-ไฟฟ้า 4,000 บาท

รวมค่าใช้จ่ายโดยประมาณจะอยู่ 105,300 บาท ซึ่งจำนวนเงินอาจจะลดลงได้อีกตามโปรโมชันที่แต่ละโครงการนำเสนอ เช่น บางโครงการอาจช่วยค่าโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองครึ่งหนึ่ง 

รวมถึงในปี 2565 มีมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ในอัตราพิเศษ ทำให้ค่าโอนและค่าจดจำนอง เหลือเพียง 0.01% เท่านั้น 

ทำให้จากตัวอย่างที่ต้องจ่าย ค่าโอนและจดจำนองจำนวน 54,000 บาท จะเหลือเพียงไม่เกิน 200 บาทเท่านั้น

อยากกู้ซื้อคอนโดให้ได้วงเงินสูง ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

ในการอนุมัติสินเชื่อเพื่อซื้อคอนโด ทางธนาคารจะพิจารณาว่าสามารถอนุมัติวงเงินให้กับผู้กู้ได้สูงสุดที่เท่าไร ซึ่งอาจมีตั้งแต่ 80-90% ของราคาคอนโด แล้วที่ในส่วนที่เหลือผู้กู้จะต้องใช้การดาวน์ หรือจ่ายเงินสดให้กับทางโครงการเอง

แต่ถ้าคุณอยากกู้ให้ได้วงเงินสูง เพื่อที่จะได้จ่ายเงินก้อนแรกน้อยลง หรือให้ได้เต็มวงเงิน 100% ของราคาประเมินคอนโด ก็จะช่วยให้ไม่ต้องเตรียมเงินสดสำหรับผ่อนดาวน์ ซึ่งคุณสามารถเตรียมตัวได้ดังนี้

อยากกู้ซื้อคอนโดให้ได้วงเงินสูง ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

 

1. คุณสมบัติโดยทั่วไปของผู้กู้ 

โดยผู้กู้จะต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป มีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป มีหลักฐานแสดงรายได้ที่น่าเชื่อถือ มีรายได้เพียงพอต่อการผ่อนชำระเงินกู้ รวมถึงมีประวัติข้อมูลเครดิตที่มีสถานปกติ มีวินัยทางการเงินที่ดี ไม่ติดแบล็คลิสต์หรือมีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดี

2. ฐานเงินเดือนที่ถึงเกณฑ์การพิจารณาปล่อยสินเชื่อ

ธนาคารจะนำข้อมูลเงินเดือนของผู้กู้ มาคำนวณรวมกับยอดหนี้สินที่มีอยู่ เพื่อประเมินความสามารถในการผ่อนชำระของผู้กู้ ซึ่งถ้าผู้กู้ไม่มีภาระหนี้สินอะไรเลย หรือมีภาระหนี้สินน้อย โอกาสที่ธนาคารจะปล่อยกู้ได้เต็มตามอัตรารายได้ก็มีสูง 

โดยการคิดยอดสินเชื่อสูงสุดที่ทางธนาคารอนุมัติ ทำได้ตามขั้นตอนนี้

หาจำนวนเงินผ่อนต่อเดือน จากการใช้สูตร

รายได้ต่อเดือนของผู้กู้ x 40% (ค่า DSR ที่กำหนดไว้ไม่เกิน 40% ของรายได้) = จำนวนเงินผ่อนต่อเดือน

เช่น หากผู้กู้มีเงินเดือน 35,000 บาท และไม่มีภาระหนี้สินอื่นๆ 

จะได้ 35,000 x 40% = 14,000 บาท เป็นจำนวนเงินผ่อนต่อเดือน

คำนวณหาวงเงินที่สามารถกู้ได้

นำจำนวนเงินผ่อนต่อเดือนที่ได้จากข้อก่อนหน้า มาคำนวณยอดสินเชื่อที่ทางธนาคารจะอนุมัติ โดยใช้วิธีต่อไปนี้

กรณีไม่มีหนี้สิน จะใช้สูตร

จำนวนเงินผ่อนต่อเดือน x 150 = วงเงินที่สามารถกู้ได้

เช่น หากผู้กู้มีเงินเดือน 35,000 บาท และไม่มีภาระหนี้สินอื่นๆ จะมีเงินผ่อนต่อเดือนที่ 14,000 บาท 

จะได้ 14,000 x 150 = 2,100,000 บาท เป็นวงเงินที่สามารถกู้ได้

กรณีมีหนี้สินอื่น จะใช้สูตร

(จำนวนเงินผ่อนต่อเดือน-ภาระหนี้อื่นๆ) x 150 = วงเงินที่สามารถกู้ได้

เช่น ผู้กู้มีเงินเดือน 35,000 บาท และผ่อนรถที่ราคา 7,000 บาทต่อเดือน 

จะได้ (14,000 – 7,000) x 150 = 1,050,000 บาท เป็นวงเงินที่สามารถกู้ได้

3. ตรวจเช็กภาระหนี้สิน และจัดการให้ได้มากที่สุดก่อน

จากการคำนวณในข้อก่อนหน้าเราได้เห็นไปแล้วว่า หากมีภาระหนี้สินก่อนที่จะขอสินเชื่อเพื่อซื้อคอนโด ตัวหนี้สินที่มีอยู่จะถูกนำมาคิดรวมเป็นวงเงินที่ทางธนาคารจะอนุมัติสินเชื่อด้วย 

นั่นหมายความว่า ยิ่งมีภาระหนี้สินเยอะ วงเงินกู้ซื้อคอนโดที่จะได้รับจากธนาคารก็อาจจะน้อยลง รวมถึงถ้ามีภาระหนี้สินเกิน 40% ของรายได้อยู่แล้ว ก็มีโอกาสที่การขอสินเชื่อจะไม่ได้รับการอนุมัติเช่นกัน

ดังนั้น ก่อนที่จะยื่นขอสินเชื่อซื้อคอนโดกับธนาคาร ถ้าหากคุณต้องการให้ได้รับการพิจาณาอนุมัติสินเชื่อที่สูง หรือกู้ได้เต็ม 100% ก็ต้องจัดการกับหนี้เก่าให้เสร็จ หรือปิดหนี้ให้ได้มากที่สุดก่อน ไม่ว่าจะเป็น หนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล ค่าผ่อนรถ 

4. รักษาประวัติทางการเงินให้ดีอยู่เสมอ

การมีประวัติทางการเงินที่ดี จะเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือทางการเงิน ที่ช่วยให้การขอสินเชื่อสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น 

เดินบัญชีสม่ำเสมอ มีรายการเงินเข้าออกบัญชีอยู่เป็นประจำมีการเก็บออมเงินก้อนในบัญชีรักษาประวัติการผ่อนชำระต่างๆ ให้สม่ำเสมอการสร้างหนี้สินที่ไม่เกิน 40% ของรายได้แต่ละเดือน5. การกู้ร่วม

หากคุณได้คำนวณแล้วว่า รายได้ต่อเดือนของคุณยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะสามารถยื่นขอสินเชื่อคนเดียวแล้วจะได้วงเงินสูง การกู้ร่วมหรือหาผู้ที่รับผิดชอบในการกู้ซื้อคอนโดร่วมกัน ที่จะเป็นการนำเอารายได้ของผู้กู้มารวมกัน จึงช่วยให้คุณได้รับวงเงินจากการขอสินเชื่อมากขึ้น และยังได้รับการอนุมัติสินเชื่อที่ง่ายขึ้นด้วย

แต่การกู้ร่วมมีทั้งข้อดีและข้อควรระวังที่คุณจะต้องรู้ ก่อนตัดสินใจยื่นกู้ร่วมซื้อบ้าน เช่น การมีภาระหนี้ร่วมกัน ที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมกันรับผิดชอบในการผ่อนชำระหนี้ และการถอนรายชื่อของผู้กู้ร่วมนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เป็นต้น

สอบถามข้อมูลสินเชื่อซื้อคอนโดกับ ธอส.

ธอส. เป็นธนาคารที่ช่วยให้คุณสามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ สำหรับลูกค้าท่านใดที่กำลังมองหาโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว บ้านแฝด คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์มีรายละเอียดข้อเสนอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่ตอบทุกโจทย์ของคนอยากมีบ้านมาแนะนำ 

ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และปานกลาง หรือกลุ่มผู้มีรายได้สูง ก็มีผลิตภัณฑ์พร้อมโปรโมชันหลากหลาย ที่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างเหมาะสม

หากสนใจขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจาก ธอส. สามารถทำการกรอกข้อมูล เพื่อขอคำแนะนำด้านสินเชื่อ และให้เจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับ >>> ได้ที่นี่

เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ที่คอยให้คำแนะนำ พร้อมเปรียบเทียบและหยิบยื่นข้อเสนอด้านสินเชื่อที่ดีที่สุดให้กับคุณ ติดต่อเราได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขาใกล้บ้านคุณ

G H BANK Call Center : 0-2645-9000

 

 



โพสต์โดย นัท สวย


3   257 ความคิดเห็น

ในการขอสินเชื่อซื้อคอนโด นอกจากเงินต้นที่เราต้องจ่ายคืนให้กับธนาคารในแต่ละเดือนแล้ว ยังมีการคิดอัตราดอกเบี้ยจากการกู้ยืมที่นำมาคำนวณในค่างวดด้วย ทำให้เราต้องหาวิธีลดดอกเบี้ยเพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากที่สุด

สำหรับใครที่กำลังมีแผนจะกู้ซื้อคอนโดกับธนาคาร บทความนี้มีจะพาคุณมาทำความรู้จักกับดอกเบี้ยเงินคอนโดทุกรูปแบบ พร้อมทั้งวิธีการเลือกลดดอกเบี้ย ที่ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในระยะยาว

 

3 สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับดอกเบี้ยคอนโด1. รูปแบบของอัตราดอกเบี้ย

อัตราดอกเบี้ยเพื่อที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด ทาวน์เฮ้าส์และอาคารพาณิชย์เพื่อที่อยู่อาศัย จะมีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่เหมือนกันโดยแบ่งออกเป็น

อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ (Fixed Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ทางธนาคารกำหนดให้คงที่ตามอายุสัญญา หรือตามช่วงเวลาที่กำหนดตั้งแต่ 1-3 ปี จากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะลอยตัวไปตามประกาศของธนาคาร

อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเปลี่ยนไปตามตลาดการเงินและเศรษฐกิจ โดยจะมีการประกาศจากธนาคารเป็นระยะๆ และอ้างอิงจาก

 

MLR (Minimum Loan Rate) อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา  MOR (Minimum Overdraft Rate) อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี MRR (Minimum Retail Rate) อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี มีประวัติทางการเงินที่ดี

2. การกำหนดอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคาร

ในการหาข้อมูลเปรียบเทียบสินเชื่อคอนโด คุณจะพบว่าการให้อัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารนั้นไม่เท่ากัน เนื่องจากแต่ละธนาคารมีอัตราดอกเบี้ย MLR, MOR, MRR รวมถึงสภาพคล่องทางการเงินที่แตกต่างกัน 

นอกจากนี้การยื่นขอสินเชื่อสำหรับซื้อคอนโดของแต่ละคน แม้ว่าจะเป็นสินเชื่อผลิตภัณฑ์เดียวกัน แต่ก็อาจได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละรายว่ามีประวัติทางการเงินที่ดีหรือไม่ และมีความสามารถในการชำระหนี้มากน้อยเพียงใด

3. การคำนวณสินเชื่อคอนโด

สำหรับการคำนวณสินเชื่อคอนโดด้วยอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว เพื่อหาค่างวดที่ต้องชำระในแต่ละเดือน สามารถทำได้โดย

ค่างวดที่ต้องชำระในแต่ละเดือน = [ยอดเงินต้นคงเหลือ x อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (%) x จำนวนวันในแต่ละเดือน (30 หรือ 31 วัน)] / จำนวนวันใน 1 ปี (365 หรือ 366 วัน)

หรือคุณสามารถใช้เครื่องมือคำนวณสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจาก ธอส. ได้ที่: https://www.ghbank.co.th/loan/infomation-advices/calculator

วิธีการลดอัตราดอกเบี้ยคอนโด ให้สบายกระเป๋า

เมื่อทำการผ่อนชำระสินเชื่อคอนโดเป็นเวลา 3 ปีแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากตอนโปรโมชัน มักจะมีการลอยตัว ซึ่งจะทำให้การผ่อนชำระในส่วนดอกเบี้ยสูงขึ้น และหักในส่วนเงินต้นน้อยลง

นั่นจึงทำให้เราต้องหาวิธีการลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้การผ่อนชำระต่อเดือนลดลงไปตามเงินต้นที่จ่ายไปแล้ว ด้วยวิธีการลดอัตราดอกเบี้ยคอนโดที่ทำได้ดังนี้

1. เพิ่มการวางเงินสดให้สูงขึ้น

การวางเงินก้อนเพิ่มขึ้น จะช่วยให้เงินต้นในการขอสินเชื่อลดลง และยังส่งผลให้การคำนวณอัตราดอกเบี้ยถูกลงด้วย โดยการเพิ่มเงินสดสามารถทำได้ดังนี้

1.1 วางเงินดาวน์ให้สูงขึ้น

สำหรับเงินดาวน์ เป็นเงินก้อนแรกที่เราสามารถจ่ายให้กับทางโครงการคอนโด เพื่อให้เงินต้นที่ต้องขอสินเชื่อกับธนาคารลดลง ซึ่งมีทั้งแบบ 

– วางเงินดาวน์คอนโดพร้อมอยู่ ที่ต้องจ่ายเป็นเงินก้อนใหญ่รอบเดียวก่อนการโอนกรรมสิทธิ์ 

– วางเงินดาวน์คอนโดที่กำลังก่อสร้าง ซึ่งจะสามารถผ่อนดาวน์ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด และไม่ต้องจ่ายทีเดียว

โดยการวางเงินดาวน์สามารถเริ่มได้ตั้งแต่ 5-10% ของราคาคอนโด หรืออาจเพิ่มจำนวนเงินดาวน์เป็น 20% หรือมากกว่า ก็จะเป็นการลดจำนวนเงินต้นในการขอสินเชื่อลง จำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมดน้อยลง รวมถึงมีระยะเวลาผ่อนที่ลดลงด้วย

1.2 ใช้เงินก้อนโปะค่าผ่อนชำระ

การใช้เงินก้อนโปะค่าผ่อนชำระคอนโด หรือการเพิ่มจำนวนเงินในค่างวดให้เกินกว่าที่ทางธนาคารกำหนดไว้ วิธีนี้จะช่วยให้สามารถผ่อนคอนโดหมดได้เร็วขึ้น และยังทำให้ประหยัดดอกเบี้ยที่ต้องชำระทั้งหมดด้วย

สำหรับการโปะค่าผ่อนชำระคอนโด สามารถทำได้ 2 วิธี นั่นคือ 

– การโปะแบบรายเดือน ด้วยการเพิ่มจำนวนเงินผ่อนคอนโดให้มากกว่าที่ธนาคารกำหนดในแต่ละงวด ซึ่งจะทำให้เงินต้นลดลงได้เร็วขึ้นและส่งผลทำให้ดอกเบี้ยลดลงตามด้วย เช่น จากเดิมที่ต้องผ่อนคอนโดต่องวดอยู่ที่ 15,000 บาท แต่เราเลือกโปะค่าผ่อนชำระต่อเดือนเพิ่มไปเป็น 18,000 บาท ส่วนที่ชำระเกินมา 3,000 บาท จะถูกนำไปหักเงินต้น เป็นต้น

– การโปะแบบรายปี ที่จะจ่ายปีละ 1 ครั้ง เป็นเงินก้อนใหญ่ก้อนเดียว เช่น ผ่อนคอนโดต่องวดอยู่ที่ 15,000 บาท เมื่อถึงเดือนสุดท้ายของปีก็โปะเงินก้อนเข้าไปอีก 36,000 บาท (เฉลี่ยเดือนละ 3,000 บาท) เป็นต้น

ทั้งสองวิธีนี้ สามารถเลือกทำแบบใดแบบหนึ่ง หรือทำควบคู่กันไปก็ได้ ขึ้นอยู่กับการวางแผนรายจ่ายของแต่ละคน โดยยิ่งโปะเยอะก็จะช่วยให้เงินต้นที่เหลือในแต่ละเดือนลดลงได้อย่างรวดเร็ว และอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมดลดลงได้มากขึ้น 

2. ทำเรื่องลดอัตราดอกเบี้ย

เมื่อผ่อนชำระคอนโดเป็นเวลา 3 ปีแล้ว ดอกเบี้ยจะถูกปรับให้สูงขึ้น ทำให้เงินผ่อนคอนโดในแต่ละงวด แม้จะจ่ายจำนวนเท่าเดิมแต่จะถูกนำไปหักในส่วนของเงินต้นน้อยลง และนำไปจ่ายเป็นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 

โดยการทำเรื่องลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคาร สามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือ

2.1 ขอปรับลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม (Retention)

หลังจากที่ผ่อนชำระสินเชื่อคอนโดเป็นเวลา 3 ปี หรือตามสัญญาที่ทางธนาคารกำหนดแล้ว เราสามารถทำเรื่องขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิมที่เราขอสินเชื่อคอนโด หรือที่เรียกว่าการ รีเทนชั่น ได้

การรีเทนชั่น เป็นการขอลดอัตราดอกเบี้ยที่จะลอยตัวสูงขึ้นในปีที่ 4 ให้ถูกลงได้ตามที่ธนาคารพิจารณา โดยสามารถทำได้ง่าย เนื่องจากเป็นการยื่นเรื่องกับธนาคารเดิม ทำให้ไม่ต้องรอการยื่นเอกสารอะไรใหม่ มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการไม่สูง และยังมีระยะเวลาในการอนุมัติที่รวดเร็วด้วย 

2.2 รีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ (Refinance)

อีกหนึ่งวิธีการลดดอกเบี้ย ด้วยการยื่นขอสินเชื่อคอนโดกับธนาคารเจ้าใหม่ โดยเป็นการนำยอดเงินต้นทั้งหมดที่เหลืออยู่จากธนาคารก่อนหน้า ไปขอสินเชื่อคอนโดใหม่ ทำให้ได้อัตรา

ดอกเบี้ยที่ถูกลงและการผ่อนชำระต่อเดือนลดลงไปตามโปรโมชันของธนาคารในขณะนั้น

นอกจากนี้การรีไฟแนนซ์ยังสามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ใหม่ เช่น ปรับเปลี่ยนจากการกู้คนเดียวเป็นการกู้ร่วมกับผู้อื่น หรือเปลี่ยนจากการกู้ร่วมเป็นกู้คนเดียวก็ได้เช่นกัน 

แต่ในการขอรีไฟแนนซ์ ผู้กู้จะต้องเตรียมเอกสารเพื่อขอสินเชื่อใหม่ทั้งหมด และยังมีค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ต้องชำระเพิ่มเติม เช่น ค่าจัดการสินเชื่อสัญญาฉบับใหม่ ค่าธรรมเนียมในการจำนอง ค่าอากรแสตมป์ ค่าประเมินราคา เป็นต้น

ระหว่าง รีเทนชั่นกับรีไฟแนนซ์ เลือกแบบไหนดีกว่ากัน?

การเลือกว่าจะ รีเทนชั่นกับธนาคารเดิม หรือรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ ปัจจัยหลักที่ต้องดูนั่นคือ อัตราดอกเบี้ยหลังจากที่ปรับลดแล้ว แบบไหนให้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงมากกว่ากัน เนื่องจากจะส่งผลต่อการผ่อนชำระโดยตรง ยิ่งดอกเบี้ยน้อยการผ่อนชำระก็จะถูกลงนั่นเอง

นอกจากนี้ให้มองถึงเครดิตทางการเงินในปัจจุบัน ว่าสามารถยื่นกู้กับธนาคารใหม่ได้หรือไม่ เนื่องจากธนาคารใหม่จะทำการตรวจสอบเครดิตบูโร และภาระหนี้ปัจจุบันทั้งหมดอีกครั้ง

โดยถ้าตรวจสอบแล้วพบว่ามีความพร้อมในการทำเรื่องยื่นกู้กับธนาคารใหม่ การรีไฟแนนซ์ก็จะทำให้อัตราดอกเบี้ยที่ได้จากธนาคารใหม่ถูกกว่า แต่ถ้าพบว่าความพร้อมทางการเงินในช่วงนั้นมีปัญหา หรือมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการมากเกินไป การขอรีเทนชั่นก็จะตอบโจทย์กว่านั่นเอง

แนะนำสินเชื่อเพื่อการซื้อคอนโดดอกเบี้ยต่ำจาก ธอส.

หากคุณกำลังมองหาสินเชื่อคอนโดดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนสบายกระเป๋า ธนาคารอาคารสงเคราะห์มีรายละเอียดข้อเสนอสินเชื่อบ้านและคอนโดดีๆ มานำเสนอให้กับคุณ

โดยเรามีสินเชื่อสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และปานกลาง หรือกลุ่มผู้มีรายได้สูง เราก็มีผลิตภัณฑ์พร้อมโปรโมชันหลากหลาย ที่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างเหมาะสม

หากคุณสนใจขอสินเชื่อบ้านจาก ธอส. สามารถทำการกรอกข้อมูล เพื่อขอคำแนะนำด้านสินเชื่อ และให้เจ้าหน้าที่ธนาคารติดต่อกลับ >>> ได้ที่นี่

เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ที่คอยให้คำแนะนำ พร้อมเปรียบเทียบและหยิบยื่นข้อเสนอด้านสินเชื่อที่ดีที่สุดให้กับคุณ ติดต่อเราได้ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทุกสาขาใกล้บ้านคุณ

ติดต่อศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์: 02 645 9000



โพสต์โดย นัท สวย


0   40 ความคิดเห็น


นัท สวย

3

โพสต์

3

Followers

1

Following

ป้ายยอดนิยม